ประเภทการบริการ

ประเภทการบริการ

Card image cap

บริการด้านเงินฝาก

  • เงินฝากออมทรัพย์
  • เงินฝากออมทรัพย์ออมสุข
  • เงินฝากออมทรัพย์เกษียณสุข
  • เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ
  • เงินฝากออมทรัพย์พิเศษทวีสินสำหรับสมาชิกสามัญ
  • เงินฝากออมทรัพย์พิเศษทวีสินสำหรับสมาชิกสมทบ
  • เงินฝากออมทรัพย์พิเศษเปี่ยมสุข
  • เงินฝากประจำทวีทรัพย์

Card image cap

บริการด้านสินเชื่อ

  • เงินกู้ฉุกเฉิน
  • เงินกู้สามัญใช้ทุนเรือนหุ้น และหรือ เงินฝากไม่เกินร้อยละ 95
  • เงินกู้สามัญ
  • เงินกู้สามัญทันใจ
  • เงินกู้พิเศษเพื่อการศึกษา
  • เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะสงเคราะห์(กรณีซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และห้องชุดเพื่อพักอาศัย)
  • เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะสงเคราะห์(กรณีไถ่ถอนจากสถาบันการเงินอื่น)
  • เงินกู้สามัญเพื่อซื้อยานพาหนะ
  • เงินกู้สามัญรวมหนี้

บริการด้านเงินฝาก

เงินฝากออมทรัพย์
  • เปิดบัญชีครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 100.-บาท
  • อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของสหกรณ์ ดอกเบี้ยไม่เสียภาษี
  • ฝาก – ถอนได้ทุกวันทำการ โดยการฝากถอนแต่ละครั้ง ต้องมีเงินคงเหลือไว้ในบัญชีไม่ต่ำกว่า 100.-บาท
  • การคิดดอกเบี้ยจะคำนวณตามยอดคงเหลือเป็นรายวัน โดยจะคิดดอกเบี้ย และนำฝากเข้าบัญชีปีละ 2 ครั้ง ( สิ้นเดือน มิถุนายน และ ธันวาคม )
  • เปิดบัญชีได้มากกว่า 1 บัญชี
เงินฝากออมทรัพย์ออมสุข
  • เปิดบัญชีครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 100 บาท สูงสุดไม่เกินเดือนละ 3,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของสหกรณ์ ดอกเบี้ยไม่เสียภาษี
  • ฝากเป็นประจำทุกเดือน โดยหักจากบัญชีเงินเดือนของสมาชิกเท่านั้น
  • สามารถฝากเพิ่มหรือลดจำนวนเงินฝากรายเดือนได้ ขั้นต่ำเดือนละ 100 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 3,000 บาท
  • การถอนเงินจะต้องถอนพร้อมปิดบัญชี เมื่อปิดบัญชีเงินฝากแล้ว มีสิทธิเปิดบัญชีใหม่ได้อีก 1 ครั้งเท่านั้น
  • การจ่ายดอกเบี้ย สหกรณ์คำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันตามยอดเงินคงเหลือ และจะนำดอกเบี้ยทบเป็นเงินต้นเข้าบัญชี เงินฝากทุก 6 เดือนในวันที่ 30 มิถุนายน – 31 ธันวาคม ของทุกปี
เงินฝากออมทรัพย์เกษียณสุข
  • เป็นสมาชิกสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสรรพากร จำกัด ที่เกษียณอายุราชการ หรือเกษียณอายุราชการก่อนกำหนด มีอายุ 55 ปีขึ้นไป
  • เปิดบัญชีครั้งแรกไม่น้อยกว่า 1,000 บาท
  • ฝากเงินในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์เกษียณสุขได้ไม่เกิน 3,000,000 บาท(ไม่รวมดอกเบี้ยที่ได้รับจากเงินฝากประเภทนี้
  • ให้สมาชิกเปิดบัญชีได้ 1 บัญชีเท่านั้น
  • การถอนเงิน สมาชิกสามารถถอนได้ทุกเมื่อ แต่ทั้งนี้ต้องมีเงินคงเหลือในบัญชี ไม่น้อยกว่า 1,000 บาท เมื่อถอนแล้ว สามารถนำกลับมาฝากใหม่ได้ แต่ยอดเงินฝากสะสมรวมดอกเบี้ยที่ได้รับในคราวก่อนยอดรวมต้องไม่เกิน 2,000,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของสหกรณ์ฯ
  • การจ่ายดอกเบี้ย สหกรณ์ฯ คำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันตามยอดเงินคงเหลือ และจะนำดอกเบี้ยฝากเข้าบัญชีเงินฝากอื่นตามที่สมาชิกแจ้งไว้ ทุกวันที่ 30 มิถุนายน และ31 ธันวาคม ของทุกปี
เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ
  • เปิดบัญชีครั้งแรกไม่ต่ำกว่า 5,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของสหกรณ์ ดอกเบี้ยไม่เสียภาษี
  • ฝากเพิ่มเมื่อใดก็ได้ โดยในแต่ละครั้งจำนวนเงินฝากต้องไม่น้อยกว่า 1,000 บาท
  • ถอนได้เดือนละ 1 ครั้งโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หากเดือนใดมีการถอนมากกว่า 1 ครั้ง จะต้องเสียค่าธรรมเนียมการถอนครั้งที่ 2 และครั้งต่อ ๆ ไปในอัตรา 1 % ของจำนวนที่ถอนแต่ไม่ต่ำกว่า 100 บาท
  • การคิดดอกเบี้ยจะคำนวณตามยอดคงเหลือเป็นรายวัน โดยจะคิดดอกเบี้ยและนำฝากเข้าบัญชีปีละ 2 ครั้ง ( สิ้นเดือน มิถุนายน และ ธันวาคม )
  • ยอดคงเหลือไม่ถึง 5,000 บาท ไม่คิดดอกเบี้ย
เงินฝากออมทรัพย์พิเศษทวีสินสำหรับสมาชิกสามัญ
  • ผู้ฝากต้องเป็นสมาชิกสามัญสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสรรพากร จำกัด
  • เปิดบัญชีครั้งแรกไม่น้อยกว่า 10,000 บาท
  • ให้สมาชิกเปิดบัญชีได้ 1 บัญชีเท่านั้น
  • การฝากเงินสามารถฝากเพิ่มได้ โดยในแต่ละครั้งจำนวนเงินฝากต้องไม่น้อยกว่า 1,000 บาท
  • การถอนเงินฝากให้ถอนได้เดือนละ 1 ครั้ง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หากเดือนใดมีการถอนมากกว่า 1 ครั้ง สหกรณ์ฯจะคิดค่าธรรมเนียมการถอนครั้งที่ 2 และครั้งต่อๆไป ในอัตรา ร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ถอนแต่ไม่ต่ำกว่า 100 บาท
  • อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของสหกรณ์
  • การจ่ายดอกเบี้ย สหกรณ์คำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันตามยอดเงินคงเหลือ และจะนำดอกเบี้ยทบเป็นเงินต้นเข้าบัญชีเงินฝากทุก 6 เดือน ในวันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี ดอกเบี้ยที่ได้รับไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ในกรณีที่จำนวนเงินฝากออมทรัพย์พิเศษทวีสินคงเหลือต่ำกว่า 10,000 บาท สหกรณ์ฯจะไม่คิดดอกเบี้ยให้
เงินฝากออมทรัพย์พิเศษทวีสินสำหรับสมาชิกสมทบ
  • ผู้ฝากต้องสมาชิกสมทบสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสรรพากร จำกัด
  • เปิดบัญชีครั้งแรกไม่น้อยกว่า 10,000 บาท
  • ให้สมาชิกเปิดบัญชีได้ 1 บัญชีเท่านั้น
  • สมาชิกสมทบสามารถฝากเงินได้ไม่เกิน 5,000,000 บาท
  • การฝากเงินสามารถฝากเพิ่มได้ โดยในแต่ละครั้งจำนวนเงินฝากต้องไม่น้อยกว่า 1,000 บาท
  • การถอนเงินฝากให้ถอนได้เดือนละ 1 ครั้ง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หากเดือนใดมีการถอนมากกว่า 1 ครั้ง สหกรณ์ฯจะคิดค่าธรรมเนียมการถอนครั้งที่ 2 และครั้งต่อๆไป ในอัตรา ร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ถอนแต่ไม่ต่ำกว่า 100 บาท
  • อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของสหกรณ์
  • การจ่ายดอกเบี้ย สหกรณ์คำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันตามยอดเงินคงเหลือ และจะนำดอกเบี้ยโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทุก 6 เดือน ในวันที่ 30 มิถุนายน และวันที่ 31 ธันวาคม ของทุกปี ดอกเบี้ยที่ได้รับไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
  • ในกรณีที่จำนวนเงินฝากออมทรัพย์พิเศษทวีสินคงเหลือต่ำกว่า 10,000 บาท สหกรณ์ฯจะไม่คิดดอกเบี้ยให้
เงินฝากออมทรัพย์พิเศษเปี่ยมสุข
  • เปิดบัญชีครั้งแรกไม่น้อยกว่า 1,000 บาท
  • ให้สมาชิกเปิดบัญชีได้เพียง 1 บัญชีเท่านั้น
  • เปิดบัญชีเงินฝากได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566
  • สามารถฝากเงินเพิ่มได้ตั้งแต่วันที่ 1 ธันวาคม 2565 ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 โดยแต่ละครั้งจำนวนเงินฝากต้องไม่น้อยกว่า 500 บาท เงินฝากสะสมสูงสุดไม่เกิน 5,000,000 บาท(ไม่รวมดอกเบี้ยที่ได้รับจากเงินฝากประเภทนี้)
  • ไม่สามารถถอนหรือโอนเงินจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ เงินฝากออมทรัพย์ออมสุข เงินฝากออมทรัพย์เกษียณสุข เงินฝากออมทรัพย์พิเศษทวีสินสำหรับสมาชิกสามัญ ยกเว้นเงินฝากออมทรัพย์(เล่มม่วง) นำมาฝากเงินประเภทนี้ได้ รวมทั้งไม่สามารถถอนหรือโอนเงินจากบัญชีเงินฝากดังกล่าวข้างต้น เข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์(เล่มม่วง) เพื่อนำมาฝากเงินประเภทนี้
  • การถอนเงินฝากให้ถอนได้เดือนละ 1 ครั้ง โดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หากเดือนใดมีการถอนมากกว่า 1 ครั้ง สหกรณ์ฯจะคิดค่าธรรมเนียมการถอนครั้งที่ 2 และครั้งต่อๆไป ในอัตรา ร้อยละ 1 ของจำนวนเงินที่ถอนแต่ไม่ต่ำกว่า 100 บาท
  • อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของสหกรณ์ฯ
  • การจ่ายดอกเบี้ย สหกรณ์ฯ คำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันตามยอดเงินคงเหลือ และจะนำดอกเบี้ยฝากเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์(เล่มม่วง) ทุกวันที่ 30 มิถุนายน และ31 ธันวาคม ของทุกปี
  • ในกรณีที่จำนวนเงินฝากออมทรัพย์พิเศษเปี่ยมสุขคงเหลือต่ำกว่า 1,000 บาท สหกรณ์ฯจะไม่คิดดอกเบี้ยให้
เงินฝากประจำทวีทรัพย์
  • เปิดบัญชีครั้งแรกต้องไม่น้อยกว่า 1,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 25,000 บาท ต้องฝากติดต่อกันทุก ๆ เดือนละเท่ากันและเท่ากับจำนวนที่เปิดบัญชีครั้งแรก เป็นเวลา 24 เดือนและรวมยอดเงินฝากทั้งหมดไม่เกิน 600,000 บาท
  • อัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของสหกรณ์
  • นำฝากโดยหักจากเงินได้รายเดือนของสมาชิก
  • ไม่สามารถถอนเงินต้นบางส่วน หรือทั้งหมดได้หากทำการถอนถือว่าเป็นการปิดบัญชี
  • เงินฝากที่ฝากไม่ถึง 3 เดือน ไม่จ่ายดอกเบี้ย
  • เงินฝากที่ฝากมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 เดือนหากถอนก่อนกำหนดจะได้รับดอกเบี้ยตามระยะเวลาที่ฝากไว้จริง ในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์
  • เมื่อครบกำหนด 24 เดือน ยอดเงินต้นและดอกเบี้ย จะโอนเข้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์(เล่มม่วง)เท่านั้น โดยดอกเบี้ยจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้
วิธีนำฝากเงิน สมาชิกสามารถนำฝากเงินได้ ดังนี้
  • นำฝากเงินที่สหกรณ์ฯ ด้วยตนเอง
  • นำฝากเงินโดยใช้ใบรับฝากเงิน (Pay-in slip) ผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ทุกสาขา พร้อมส่งหลักฐานการโอนเงินทางโทรสารมายังสหกรณ์ฯ
  • นำฝากเงินโดยใช้ใบชำระค่าสินค้าและบริการ (Bill Payment) ผ่านสาขาธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด(มหาชน) ทุกสาขา ทั้งนี้สมาชิก สามารถจัดพิมพ์ใบชำระค่าสินค้าและบริการ (Bill Payment)ได้ที่ Web site ของสหกรณ์ฯ
  • วิธีการถอนเงิน สมาชิกสามารถถอนเงินได้ ดังนี้
  • สามารถถอนเงินที่สหกรณ์ฯ ด้วยตนเอง
  • ทำบันทึกแจ้งความประสงค์ขอถอนเงิน พร้อมสำเนาหน้าสมุดเงินฝากที่มีกับสหกรณ์ และสมุดเงินฝากธนาคารที่ต้องการให้สหกรณ์ฯโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมสำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรข้าราชการ

หมายเหตุ

  1. ถอนตั้งแต่ 200,000    บาท    ไม่เกิน 1,000,000 บาท แจ้งล่วงหน้า 1 วันทำการ
  2. ถอนตั้งแต่ 1,000,000 บาท    ไม่เกิน 5,000,000 บาท แจ้งล่วงหน้า 2 วันทำการ
  3. ถอนตั้งแต่ 5,000,000 บาท    แจ้งล่วงหน้า 3 วันทำการ

บริการด้านสินเชื่อ

เงินกู้ฉุกเฉิน
  • เป็นสมาชิกสหกรณ์ฯมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • สามารถกู้ได้ 3 เท่า ของเงินเดือนไม่เกิน 100,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 95 ของทุนเรือนหุ้น
  • ผ่อนชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 12 งวด
  • จะต้องไม่มีเงินกู้ที่ใช้ระบบ KTB Coop Online   
เงินกู้ใช้ทุนเรือนหุ้น และหรือ เงินฝากไม่เกินร้อยละ 95
  • กู้ได้ไม่เกิน 95% ของทุนเรือนหุ้น และหรือ เงินฝากที่อยู่สหกรณ์
  • ใช้ทุนเรือนหุ้น และหรือเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากออมทรัพย์พิเศษ เงินฝากออมทรัพย์พิเศษทวีสิน เป็นหลักประกัน
  • ผ่อนชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 200 งวด
เงินกู้สามัญ

ข้อ 1 วัตถุประสงค์

    1. เพื่อนำไปชำระหนี้ของสมาชิกที่มีต่อสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสรรพากร จำกัด หรือสถาบันการเงินอื่น ๆ
    2. เพื่อนำไปใช้จ่ายในครอบครัวและชำระหนี้อื่น ๆ ของสมาชิก

ข้อ 2 หลักเกณฑ์การขอกู้และการค้ำประกันเงินกู้สามัญทั่วไป
วงเงินกู้และวงเงินค้ำประกันให้เป็นไปตามระเบียบสหกรณ์ออมทรัพย์ข้าราชการสรรพากร จำกัด และหลักเกณฑ์ ดังนี้

    1. เป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า  1 ปี แต่ไม่เกิน 2 ปี วงเงินกู้ไม่เกิน         100,000    บาท
    2. เป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า  2 ปี แต่ไม่เกิน 3 ปี วงเงินกู้ไม่เกิน         300,000    บาท
    3. เป็นสมาชิกมาแล้วเกินกว่า      3 ปี แต่ไม่เกิน 5 ปี วงเงินกู้ไม่เกิน         600,000    บาท
    4. เป็นสมาชิกมาแล้วเกินกว่า      5 ปี แต่ไม่เกิน 6 ปี วงเงินกู้ไม่เกิน      1,000,000    บาท
    5. เป็นสมาชิกมาแล้วเกินกว่า      6 ปี แต่ไม่เกิน 7 ปี วงเงินกู้ไม่เกิน      2,000,000    บาท
    6. เป็นสมาชิกมาแล้วเกินกว่า      7 ปี แต่ไม่เกิน 8 ปี วงเงินกู้ไม่เกิน      2,500,000    บาท
    7. เป็นสมาชิกมาแล้วเกินกว่า      8 ปี ขึ้นไป           วงเงินกู้ไม่เกิน      3,000,000    บาท                                                            กรณีผู้ขอกู้มีอายุสมาชิกไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดตามข้อ 1 ข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 ข้อ 5 ข้อ 6 และข้อ 7 แต่เป็นข้าราชการ หรือลูกจ้างประจำ หรือเจ้าหน้าที่สหกรณ์ เกิน 10 ปี  ขึ้นไป และมีอายุสมาชิกไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้สามารถกู้ได้ตามที่คณะอนุกรรมการเงินกู้เห็นสมควร แต่ทั้งนี้ ต้องได้มีการทำประกันชีวิตคุ้มครองหนี้รายบุคคลและทำประกันภัยผู้ค้ำประกันให้ไว้กับสหกรณ์

ข้อ 3 คุณสมบัติของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน

    1. ผู้กู้และผู้ค้ำประกันต้องไม่อยู่ในระหว่างการถูกสอบวินัย
    2. ผู้กู้และผู้ค้ำประกันต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกคำสั่งศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หรือ ต้องคำพิพากษาของศาลให้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย
    3. กรณีสมาชิกกู้เงินไม่เกิน 1 ล้าน ไม่บังคับทำประกัน แต่ต้องได้รับความยินยอมจากผู้ค้ำประกัน
    4. ผู้กู้และผู้ค้ำประกันต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกหมายบังคับคดี หรือถูกคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร
    5. ผู้ค้ำประกันต้องเป็นสมาชิกสหกรณ์ฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และสหกรณ์ฯ ยึดถือหลักเกณฑ์ตามระยะเวลาการให้กู้เงินแก่สมาชิกมาเป็นฐานในการให้สิทธิสมาชิกผู้ค้ำประกันตามระยะเวลาการเป็นสมาชิกทุกประการ ยกเว้น เงินกู้สามัญทั่วไปรายใดได้จัดทำประกันชีวิตคุ้มครองหนี้รายบุคคลและประกันภัยหนีหนี้ที่สหกรณ์ฯ จัดให้มีขึ้นตามวงเงินกู้ที่ได้รับ โดยระบุสหกรณ์ฯ เป็นผู้รับผลประโยชน์แล้วนั้น ไม่จำเป็นต้องดูวงเงินของผู้ค้ำประกัน การให้ข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้สหกรณ์ฯ ทราบตามวรรคแรก เป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา

ข้อ 4 การชำระคืนเงินกู้สามัญทั่วไป เงินกู้สามัญทั่วไป

ให้ผู้กู้ส่งคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นรายเดือนภายในวันสิ้นเดือนของทุกเดือน แต่ไม่เกิน 200 งวด ทั้งนี้ไม่เกินวันเกษียณอายุราชการบวกเพิ่มอีก 12 งวด

ข้อ 5 เงื่อนไขการพิจารณาเงินกู้สามัญทั่วไป

    1. สมาชิกผู้กู้จะต้องมีเงินเดือนคงเหลือหลังหักเงินค่าหุ้นสะสม หักเงินกู้ทุกประเภท และ/หรือค่าใช้จ่ายอื่นแล้ว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเงินเดือน โดยคำนวณจากฐานของเงินเดือนก่อนหักค่าใช้จ่ายจากการกู้เงินกู้สามัญทั่วไปของสหกรณ์ฯ
    2. สมาชิกต้องผ่อนชำระหนี้เงินกู้แก่สหกรณ์ฯ มาแล้วไม่น้อยกว่า 6 งวด จึงจะสามารถ ยื่นขอกู้เงินกู้สามัญทั่วไปครั้งใหม่ได้

ข้อ 6 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สามัญทั่วไป

ให้เรียกดอกเบี้ยเงินกู้ในอัตราไม่เกินร้อยละ 5.75 ต่อปี สหกรณ์ฯ ย่อมทรงไว้ซึ่งสิทธิ ที่จะกำหนดและเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยที่จะเรียกเก็บสมาชิกผู้กู้เงินได้ตามที่เห็นสมควร โดยแจ้ง เป็นประกาศของสหกรณ์ฯ ให้ทราบเป็นคราว ๆ ไป

ข้อ 7 ข้อความในข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 หรือข้อ 5 ไม่ให้ใช้บังคับกับกรณีผู้กู้เงินกู้สามัญทั่วไป

ซึ่งกู้เงินไม่เกินร้อยละ 95 ของทุนเรือนหุ้น และ/หรือการประกันด้วยเงินฝากประจำและ/หรือเงินฝากออมทรัพย์พิเศษ ที่มีอยู่กับสหกรณ์ฯ สหกรณ์ฯ จะจ่ายเงินกู้สามัญทั่วไปให้แก่สมาชิกผู้กู้เท่านั้น หรือเพื่อการชำระหนี้ของผู้กู้ตามลำดับ ดังนี้

    1. ชำระหนี้เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน หนี้เงินกู้สามัญทั่วไป หนี้เงินกู้สามัญทันใจหรือ หนี้เงินกู้ประเภทอื่น ๆ ตลอดจนหนี้ในฐานะผู้รับโอนจากการเป็นผู้คํ้าประกัน เว้นแต่สมาชิกมีเงินได้ รายเดือนคงเหลือพอตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่กำหนด ไม่ต้องหักชำระหนี้เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉินและหนี้เงินกู้สามัญทันใจ สำหรับหนี้เงินกู้เพื่อการศึกษา หนี้เงินกู้ทรัพย์เพิ่มค่า หนี้เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะสงเคราะห์ และหนี้ที่ต้องรับผิดในฐานะเป็นผู้คํ้าประกันที่ได้มีการยื่นเพื่อขออนุมัติปรับโครงสร้างหนี้จากสหกรณ์ฯ และได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการดำเนินการของสหกรณ์ฯ ให้ปรับโครงสร้างหนี้ด้วยวิธีการอย่างหนึ่งอย่างใด หรือผ่อนผันให้ผู้คํ้าประกันชำระหนี้เป็นงวดรายเดือนจนแล้วเสร็จตามจำนวนเงินกู้แล้วนั้น สหกรณ์ฯ ไม่สามารถหักเงินกู้สามัญทั่วไป เพื่อชำระหนี้ดังกล่าวได้ เว้นแต่สมาชิกแจ้งความประสงค์ให้หักชำระหนี้ได้
    2. ชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองหนี้รายบุคคล
    3. ชำระค่าเบี้ยประกันภัยหนีหนี้
    4. หากสมาชิกมีค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองหนี้รายบุคคลและค่าเบี้ยประกันภัยหนีหนี้ที่ต้องชำระ สหกรณ์ฯ จะหักจากเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืน เพื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตและ/หรือค่าเบี้ยประกันภัยหนีหนี้ หากในปีใดสมาชิกอาจได้รับจำนวนเงินน้อยกว่าที่ต้องชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตและ/หรือค่าเบี้ยประกันภัยหนีหนี้ สหกรณ์ฯ จะหักชำระจากเงินเดือนของสมาชิกจนกว่าจะครบค่าเบี้ยประกัน เต็มจำนวน หรือสหกรณ์ฯ จะหักค่าเบี้ยประกันชีวิตและ/หรือค่าเบี้ยประกันภัยหนีหนี้ไว้เป็นการล่วงหน้า ณ วันที่สมาชิกได้รับการอนุมัติเงินกู้ก็ย่อมกระทำได้
    5. สำหรับเงินกู้สามัญทั่วไปที่เหลือจากการชำระหนี้ตาม 1. 2. 3. และ/หรือ 4. แล้ว สหกรณ์ ฯจะจ่ายเงินให้แก่ผู้กู้โดยนำฝากเข้าบัญชีเงินฝากตามที่สมาชิกได้แจ้งไว้ต่อสหกรณ์ฯ
เงินกู้สามัญทันใจ
  • ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • สามารถกู้ได้ 4 เท่า ของเงินเดือนไม่เกิน 100,000 บาท และไม่เกินร้อยละ 95 ของทุนเรือนหุ้น
  • ผ่อนชำระเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยสูงสุดไม่เกิน 18 งวด

เอกสารประกอบการยื่นกู้ผ่านระบบ ATM (พร้อมรับรองสำเนา)

    1. แบบคำขอใช้บริการ KTB Coop Online และ คำขอกู้สามัญทันใจ
    2. สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวประชาชน
    3. สลิปเงินเดือนปัจจุบัน
    4. สำเนาหน้าบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ของสอ.สพก. และหน้าบัญชีออมทรัพย์ธนาคารกรุงไทย จำกัด

เอกสารกรณีเปลี่ยนแปลงวงเงินกู้หรือขอปลดในกรณีถูกงดกด/ปรับอัตราเงินเดือน

    1. คำขอเปลี่ยนแปลงวงเงินกู้สามัญทันใจ
    2. สลิปเงินเดือนปัจจุบัน
    3. สำเนาบัตรประชาชน
เงินกู้สินเชื่อเพื่อการศึกษา
  • ต้องเป็นสมาชิกมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • จำนวนเงินกู้สมาชิกสามารถกู้ได้ ครั้งละหนึ่งหลักสูตรแต่ละหลักสูตรสูงสุด ไม่เกิน 200,000 บาท เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายในการศึกษาของสมาชิกในระดับการศึกษาตั้งแต่ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ถึงระดับ ปริญญาเอก ดังต่อไปนี้สมาชิกที่กู้เงินสามัญประเภทนี้แล้วยังคงมีสิทธิเงินประเภทอื่น ๆ ได้ตาม หลักเกณฑ์และวิธีการของเงินกู้ประเภทนั้น ๆการชำระคืนเงินกู้ ผ่อนชำระคืนเงินต้น และดอกเบี้ยในอัตราคงที่เท่ากันทุกเดือน (ตามวงเงินกู้ที่เพิ่มขึ้น) ตามอัตราที่ สอ.สพก. กำหนด และจะต้องหักจากเงินเดือนของผู้กู้ได้ทั้งจำนวน ผ่อนชำระได้ไม่เกิน 120 เดือน ผ่อนชำระไม่เกินวันเกษียณราชการ
    • เพื่อเป็นค่าลงทะเบียน ค่าบำรุงการศึกษา ค่าอุปกรณ์การศึกษาตามจำนวน เท่าที่จ่ายจริง ที่แสดงในใบแจ้งค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน หรือใบเสร็จรับเงิน
  • การเบิกจ่ายเงินกู้ได้หลังจากคณะกรรมการพิจารณาอนุมัติแล้วเท่านั้น
เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะ (กรณีซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้าง และห้องชุดเพื่อพักอาศัย)
  • ต้องเป็นสมาชิกติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน และรับราชการในสังกัดกรมสรรพากรแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • จำนวนเงินให้กู้ซื้อจากโครงการจัดสรรโดยตรงได้ไม่เกิน 5,000,000 บาท
  • กรณีไม่ผ่านโครงการจัดสรร กู้ได้ไม่เกิน 5,000,000 บาท 
  • ระยะการผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 300 งวด 
  • ผู้กู้ต้องทำประกันอัคคีภัยระบุผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ให้แก่สหกรณ์ฯ ตลอดอายุสัญญา
    • อัตราดอกเบี้ย คงที่ 1 ปี
    • ปีที่ 1 (เดือนที่ 1–12) ร้อยละ 3.00 ต่อปี
    • ปีที่ 2 จนถึงตลอดอายุของสัญญาเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สามัญทั่วไปลบด้วย 1.00
      ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของ สอ.สพก. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการเคหะฯ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และเงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะสงเคราะห์ข้างต้นไม่มีสิทธิได้รับเงินเฉลี่ยคืน
เงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะ (กรณีไถ่ถอนจากสถาบันการเงินอื่น)
  • ต้องเป็นสมาชิกติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 เดือน และรับราชการในสังกัดกรมสรรพากรแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี
  • จำนวนเงินให้กู้ซื้อจากโครงการจัดสรรโดยตรงได้ไม่เกิน 5,000,000 บาท 
  • กรณีไม่ผ่านโครงการจัดสรร กู้ได้ไม่เกิน 5,000,000 บาท 
  • ระยะการผ่อนชำระสูงสุดไม่เกิน 300 งวด 
  • ผู้กู้ต้องทำประกันอัคคีภัยระบุผู้รับผลประโยชน์ตามกรมธรรม์ให้แก่สหกรณ์ฯ ตลอดอายุสัญญา 
    • อัตราดอกเบี้ย คงที่ 1 ปี
    • ปีที่ 1 (เดือนที่ 1–12) ร้อยละ 3.00 ต่อปี
    • ปีที่ 2 จนถึงตลอดอายุของสัญญาเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สามัญลบด้วย 1.00
      ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของ สอ.สพก. ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการเคหะฯ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และเงินกู้พิเศษเพื่อการเคหะสงเคราะห์ข้างต้นไม่มีสิทธิได้รับเงินเฉลี่ยคืน

กรณีไถ่ถอนจำนองก่อนกำหนด

    • ภายในระยะเวลา 3 ปี นับแต่วันที่ทำนิติกรรม ต้องชำระค่าธรรมเนียมไถ่ถอนในอัตรา ร้อยละ 2 ของยอดหนี้ที่ชำระคืนสหกรณ์
    • ค่าธรรมเนียมประเมินหลักประกัน 2,500.-บาท ( สหกรณ์จะไม่คืนให้ไม่ว่ากรณีใดๆ )
    • ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อการเคหะฯ สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
    • ใบเสร็จรับเงินสามารถนำไปเบิกกับทางราชการ (ค่าเช่าบ้าน) ได้

เอกสารประกอบการขอกู้พิเศษเพื่อการเคหะ

    1. คำขอกู้เงินพิเศษ
    2. เอกสารส่วนบุคคล
      1. สำเนาบัตรประจำตัวข้าราชการหรือบัตรประจำตัวประชาชน ของผู้กู้ และคู่สมรส
      2. สำเนาทะเบียนบ้าน ของผู้กู้ และคู่สมรส
      3. สำเนาทะเบียนสมรส / สำเนาทะเบียนหย่า / สำเนาใบมรณะบัตร /ใบแจ้งความแยกกันอยู่
      4. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อสกุล (ถ้ามี)
    3. เอกสารทางการเงิน
      1. สลิปเงินเดือนปัจจุบัน 3 เดือนย้อนหลัง
      2. เอกสารการเดินบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
      3. เอกสารแสดงรายได้คู่สมรส / รายได้อื่น (ถ้ามี)
    4. เอกสารหลักประกัน ( กรณีซื้อใหม่ )
      1. สำเนาเอกสารสิทธิ(โฉนดที่ดิน,เอกสารสิทธิ์ห้องชุด) ขนาดเท่าต้นฉบับ
      2. สำเนาสัญญาจะซื้อจะขาย
      3. ผังโครงการ แผ่นพับโบร์ชัวของโครงการ แผนที่ตั้งที่ดิน โดยสังเขป
      4. หนังสือรับรองราคาประเมินจากสำนักงานที่ดิน (ฉบับจริง)
      5. เอกสารตามข้อที่ 1.คำขอกู้เงินพิเศษ 2.เอกสารส่วนบุคคล 3.เอกสารทางการเงิน
    5. เอกสารหลักประกัน ( กรณีไถ่ถอนจากสถาบันการเงินอื่น )
      1. สำเนาโฉนดที่ดินขนาดเท่าต้นฉบับ
      2. สำเนาหนังสือสัญญากู้เงิน บันทึกต่อท้ายสัญญากู้เงินจากสถาบันการเงินเดิม
      3. สำเนาสัญญาจำนอง จากสถาบันการเงินเดิม
      4. หลักฐานการผ่อนชำระหนี้ย้อนหลัง 12 เดือน
      5. หนังสือรับรองราคาประเมินจากสำนักงานที่ดิน (ฉบับจริง)
      6. หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในสิ่งปลูกสร้าง เช่น สัญญาซื้อขาย/ให้ คำขอเลขที่บ้าน
      7. เอกสารตามข้อที่ 1.คำขอกู้เงินพิเศษ 2.เอกสารส่วนบุคคล 3.เอกสารทางการเงิน
เงินกู้สามัญเพื่อซื้อยานพาหนะ
  1. วัตุประสงค์
    1. เพื่อส่งเสริม ช่วยเหลือสมาชิกได้มียานพาหนะเป็นของตนเอง
  2. วงเงินกู้
    1. สหกรณ์ให้กู้เท่ากับราคายานพาหนะที่จ่ายจริง เเต่ไม่เกิน 1,500,000 บาท เเละเมื่อรวมเงินกู้ทุกประเภทจะต้องไม่เกินสิทธิที่สามารถกู้เงินกู้สามัญทั่วไปได้ โดยยานพาหนะที่ซื้อต้องเป็นยานพาหนะใหม่ป้ายเเดงพร้อมทำประกันภัยชั้น 1
  3. ระยะเวลาการชำระหนี้
    1. รถยนต์ กำหนดชำระหนี้เป็นงวดรายเดือน ภายในระยะเวลา 5 ปี หรือไม่เกิน 60 งวด เเละไม่เกินวันครบกำหนดเกษียณอายุราชการ
    2. รถจักรยานยนต์ กำหนดชำระหนี้เป็นงวดรายเดือน ภายในระยะเวลา 5 ปี หรือไม่เกิน 60 งวด เเละไม่เกินวันครบกำหนดเกษียณอายุราชการ
  4. หลักเกณฑ์การให้กู้เงินกู้สามัญเพื่อซื้อยานพาหนะ
    1. ระยะเวลาการเป็นสมาชิก
      1. เป็นสมาชิกมาเเล้วตั้งเเต่ 1 ปี เเต่ไม่เกิน 2  ปี มีทุนเรือนหุ้นไม่น้อยกว่า 10,000 บาท วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาท
      2. เป็นสมาชิกมาเเล้วตั้งเเต่ 2 ปี เเต่ไม่เกิน 3  ปี มีทุนเรือนหุ้นไม่น้อยกว่า 30,000 บาท วงเงินกู้ไม่เกิน 300,000 บาท
      3. เป็นสมาชิกมาเเล้วตั้งเเต่ 1 ปี เเต่ไม่เกิน 2  ปี มีทุนเรือนหุ้นไม่น้อยกว่า 60,000 บาท วงเงินกู้ไม่เกิน 600,000 บาท
      4. เป็นสมาชิกมาเเล้วเกินกว่า 5 ปี ขึ้นไป มีทุนเรือนหุ้นไม่น้อยกว่า 150,000 บาท วงเงินกู้ไม่เกิน 1,500,000 บาท
    2. เงินได้รายเดือนคงเหลือ
      1. สมาชิกผู้กู้จะต้องมีเงินได้รายเดือนคงเหลือหลังหักจากหักทุนเรือนหุ้น หักเงินกู้ทุกประเภท เเละ/หรือค่าใช้จ่ายรายการอื่นๆ เเล้ว  คงเหลือสุทธิไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเงินได้รายเดือน
  5. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
    • อัตราดอกเบี้ยคงที่  1  ปี
    • ปีที่ 1 (เดือนที่ 1–12) ร้อยละ 3.00 ต่อปี
    • ปีที่ 2 จนถึงตลอดอายุของสัญญาเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สามัญลบด้วย 1.00 (ไม่มีเงินเฉลี่ยคืนรายปี)   ทั้งนี้การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามประกาศของ สอ.สพก.
  6. หลักประกันเงินกู้
    1. กรณีสมาชิกกู้เงินไม่เกิน  1  ล้าน ใช้ผู้ค้ำ  1  หรือ  2  คน
    2. กรณีสมาชิกกู้เงินเกิน  1  ล้าน  ใช้ผู้ค้ำ  2  คน  ทำประกันชีวิต เเละประกันภัยผู้ค้ำ
  7. การจ่ายเงินกู้
    1. สหกรณ์จะจ่ายเงินกู้ค่าซื้อยานพาหนะให้กับบริษัทผู้จำหน่ายที่ผู้กู้ทำสัญญาซื้อโดยตรงเท่านั้น
  8. กำหนดชำระคืนเงินกู้
    1. สหกรณ์กำหนดให้สมาชิกส่งเงินงวดชำระหนี้ภายในกำหนดวันสิ้นเดือนของแต่ละเดือน โดยวิธีหักจากเงินได้รายเดือนของผู้กู้ ณ ที่จ่าย หากสมาชิกผิดนัดชำระหนี้ไม่ว่างวดหนึ่งงวดใด สำหรับเงินกู้ที่เหลืออยู่สหกรณ์จะปรับอัตราดอกเบี้ยเท่ากับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สามัญทั่วไปทันที
  9. เมื่อได้รับเงินกู้แล้ว ผู้กู้ต้องนำสำเนาทะเบียนรถที่ปรากฎชื่อของผู้กู้มาแสดงต่อสหกรณ์ ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ยื่นขอจดทะเบียน
เงินกู้สามัญรวมหนี้
  1. วัตุประสงค์
    1. เพื่อรวมหนี้ทุกประเภทและผ่อนคลายภาระในการชำระหนี้ของสมาชิก
    2. เพื่อช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการชำระหนี้ของสมาชิกและเป็นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของสมาชิกสหกรณ์
  2. หลักเกณฑ์การขอกู้และการค้ำประกันเงินกู้สามัญรวมหนี้
    1. กำหนดให้สมาชิกกู้รวมหนี้ตามยอดเงินต้นคงเหลือของหนี้ทุกประเภทดอกเบี้ย วงเงิน ไม่เกิน 3,500,000 บาท
    2. สมาชิกผู้กู้ต้องทำประกันชีวิตคุ้มครองหนี้รายบุคคล และประกันภัยผู้ค้ำประกันตั้งแต่บาทแรกเต็มตามจำนวนวงเงินกู้
  3. คุณสมบัติของผู้กู้และผู้ค้ำประกัน
    1. ผู้กู้ต้องเป็นข้าราชการมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี
    2. ผู้กู้ต้องยังไม่พ้นจากการเป็นข้าราชการประจำ
    3. ผู้กู้ต้องมีเงินเดือนคงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 30 ของเงินเดือน และภายหลังจากการกู้เงินกู้สามัญรวมหนี้ สมาชิกผู้กู้จะต้องมีเงินเดือนคงเหลือหลังจากหักทุนเรือนหุ้น หักเงินกู้ทุกประเภท และ/หรือค่าใช้จ่ายรายการอื่น ๆ แล้ว คงเหลือสุทธิไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเงินเดือน เว้นแต่ผู้กู้มีอายุเกิน 55 ปี ต้องมีเงินเดือนคงเหลือ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของเงินเดือน
    4. ต้องเป็นการกู้รวมหนี้เงินกู้ทุกประเภทของสหกรณ์
    5. สมาชิกที่ได้รับอนุมัติให้กู้เงินกู้สามัญรวมหนี้แล้ว ไม่สามารถกู้เงินทุกประเภทใหม่ได้เว้นแต่ภายหลังจากที่สมาชิกกู้เงินกู้สามัญรวมหนี้แล้ว มีเงินเดือนคงเหลือหลังจากหักทุนเรือนหุ้น หักเงินกู้ทุกประเภท และ/หรือค่าใช้จ่ายรายการอื่น ๆ แล้ว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเงินเดือน หรือไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ของเงินเดือน แล้วแต่กรณี สหกรณ์อาจพิจารณาให้กู้เงินเพื่อเหตุฉุกเฉิน และ/หรือเงินกู้สามัญทันใจ ในวงเงินไม่เกิน 100,000 บาท
    6. ค้ำประกันเงินกู้สามัญที่เกษียณอายุราชการไม่สามารถค้ำประกันได้ เว้นแต่เป็นผู้ค้ำประกันเก่า
    7. ค้ำประกันเงินกู้สามัญที่เกษียณอายุราชการไม่สามารถค้ำประกันได้ เว้นแต่เป็นผู้ค้ำประกัน
    8. ผู้กู้และผู้ค้ำประกันต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกคำสั่งศาลพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด หรือต้องคำพิพากษาของศาลให้ตกเป็นบุคคลล้มละลาย
    9. ผู้กู้และผู้ค้ำประกันต้องไม่อยู่ในระหว่างถูกหมายบังคับคดี หรือถูกคำสั่งยึด หรืออายัดทรัพย์สินตามมาตรา 12 แห่งประมวลรัษฎากร
  4. หลักประกันเงินกู้
    1. ให้เป็นไปตามระเบียบสหกรณ์ ว่าด้วยเงินกู้สามัญและเงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน พ.ศ. 2567
  5. อัตราดอกเบี้ยเงินกู้
    1. ดอกเบี้ยไม่เกินร้อยละ 5.50 ต่อปี
  6. เงื่อนไขการพิจารณาเงินกู้
    1. สมาชิกผู้กู้จะต้องมีเงินเดือนคงเหลือหลังหักเงินทุนเรือนหุ้น หักเงินกู้ทุกประเภท และ/หรือค่าใช้จ่ายรายการอื่น ๆ แล้ว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเงินเดือน
    2. กรณีที่สมาชิกประสงค์จะยื่นกู้เงินสามัญทั่วไปใหม่ ต้องหักลบหนี้เงินกู้สามัญรวมหนี้ โดยมีเงินคงเหลือไม่น้อยกว่าร้อยละ 30 ของเงินเดือนและชำระหนี้ให้เสร็จสิ้นไม่เกินวันเกษียณอายุราชการ
  7. การจ่ายเงินกู้
    1. ชำระหนี้เงินกู้เพื่อเหตุฉุกเฉิน หนี้เงินกู้สามัญทั่วไป หนี้เงินกู้สามัญทันใจ หนี้เงินกู้สามัญพิเศษ (สมาชิกพึ่งพา-สหกรณ์พึ่งพิง) หรือหนี้เงินกู้ประเภทอื่น ๆ ตลอดจนหนี้ในฐานะผู้รับโอนจากการเป็นผู้คํ้าประกัน
    2. ชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองหนี้รายบุคคล
    3. ชำระค่าเบี้ยประกันภัยผู้ค้ำประกัน
    4. หากสมาชิกมีค่าเบี้ยประกันชีวิตคุ้มครองหนี้รายบุคคลและค่าเบี้ยประกันภัยผู้ค้ำประกันที่ต้องชำระ สหกรณ์ จะหักจากเงินปันผลและเงินเฉลี่ยคืน
  8. การชำระคืนเงินกู้
    1. เงินกู้สามัญรวมหนี้ ให้ผู้กู้ส่งคืนเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นรายเดือน โดยวิธีหักจากเงินเดือนของผู้กู้ ณ ที่จ่าย เว้นแต่ภายหลังจากกู้เงินสามัญรวมหนี้แล้ว สมาชิกผู้กู้ดังกล่าวไม่มีเงินเดือนที่รับจากหน่วยราชการต้นสังกัดเดิมของผู้กู้ ให้นำส่งเงินงวดชำระหนี้ที่สำนักงานของสหกรณ์ หรือหักจากบัญชีเงินฝากของผู้กู้ที่มีอยู่กับสหกรณ์ หรือโอนผ่านธนาคาร หรือวิธีอื่นที่สหกรณ์กำหนด โดยให้ถือว่าเงินงวดชำระหนี้แต่ละงวด ถึงกำหนดส่งภายในวันสิ้นเดือนของแต่ละเดือน แต่ไม่เกิน 360 งวด และไม่เกินอายุ 75 ปี